ดูแลสุขภาพใจในภาวะโควิด-19
โดย:
Taw
[IP: 49.49.241.xxx]
เมื่อ: 2021-06-10 08:18:20
ควิด-19 นอกจากจะเข้ามาสร้างผลกระทบต่อสุขภาพ วิถีชีวิต และเศรษฐกิจของผู้คนทั่วโลกแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนเราได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความตื่นกลัว ความวิตกกังวล หรือการขาดความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง รวมถึงสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจจากการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ( 5 มาตรการเยียวยาโควิด ระลอกใหม่ ใครได้สิทธิอะไรบ้าง? เช็กเลย! คลิก )
หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงหรือลดภาระค่าใช้จ่าย ประชาชนจึงมีรายได้ที่ลดลงหรือต้องตกงาน สิ่งที่ตามมาคือ ความเครียดสะสมจนอาจลุกลามเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงได้ในอนาคต แม้ในวันนี้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลาย แต่เชื้อโควิดก็สามารถกลับมาระบาดได้อีกทุกเมื่อ อยากชวนคุณมาทำใจให้สบาย พร้อมฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน แต่จะมีวิธีไหนกันบ้าง รวบรวมมาไว้ให้ที่นี่แล้วค่ะ
วิธีดูแลจิตใจในภาวะโควิด
กรมสุขภาพจิต ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพจิตของประชาชนที่สอดคล้องกับคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก เพื่อช่วยให้ทุกคนร่วมกันก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน ด้วยหลัก 5 ร. ต่อไปนี้
1. รู้อารมณ์
รับรู้สภาวะอารมณ์ของตัวเอง ว่ากำลังอยู่ในสถานการณ์ใด แล้วหาวิธีผ่อนคลายความเครียดในแบบที่ตัวเองชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือฝึกสมาธิ ไม่ควรใช้การดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือการเสพสารเสพติดเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้น เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาต่อตัวเองทับถมมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ
2. รับสื่ออย่างมีสติ
ไม่หมกมุ่นกับการรับข่าวสารในช่องทางต่างๆ มากจนเกินไป ลดการดู การอ่าน หรือการฟังข่าวสารที่ทำให้ต้องรู้สึกวิตกกังวล อาจเปิดรับข่าวสารเพียงวันละ 1-2 ครั้ง หรือหากเริ่มรู้สึกเครียดให้หยุดติดตามข่าวทันที และควรเลือกรับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
3. รักษาสุขภาพ
ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลและป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัด (3 กลุ่มเสี่ยงโควิด!! พร้อมแนวทางเฝ้าระวัง!! คลิก )
4. รีบปรึกษาถ้ากังวลใจ
โทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นกังวล ผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ตารางการให้บริการทางสุขภาพจิตและจิตเวช คลิก)
5. ระมัดระวังไม่แสดงท่าทีรังเกียจผู้ป่วยโควิด
ไม่ควรตอกย้ำ ล้อเลียน หรือแสดงท่าทีรังเกียจผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโรคโควิด-19 ว่าเป็น “ตัวเชื้อโรค” เพราะพวกเขาเป็นเพียง “คนที่ป่วยด้วย โควิด” เท่านั้น ซึ่งหลังจากหายป่วยโควิดแล้ว ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สามารถไปทำงาน เดินทาง ท่องเที่ยว หรืออยู่กับครอบครัวและคนที่รักได้ สิ่งที่สำคัญคือ ไม่ควรสร้างตราบาปให้กับผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้
ปฐมพยาบาลทางใจผู้ป่วยและคนรอบข้าง
การปฐมพยาบาลทางใจ เป็นการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์และแสดงออกด้วยความเห็นอกเห็นใจ ให้ความสนใจกับท่าทางที่แสดงออก การฟังด้วยความตั้งใจ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือตามที่จำเป็น เพื่อให้ผู้คนรอบข้างรู้สึกปลอดภัย ผ่อนคลายและมีความหวังที่จะสู้ชีวิตต่อไปจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ข้อควรทำเพื่อปฐมพยาบาลใจ
1. ฟังให้มากกว่าพูด เพื่อให้เข้าใจความกังวลของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
2. ถามด้วยความสุภาพ
3. ใช้คำถามปลายเปิด ได้แก่ เมื่อไหร่ ที่ไหน อะไร อย่างไร
4. รับรู้ความรู้สึกและความเข้าใจต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด
5. ตอบสนองด้วยอารมณ์ปกติ
6. สร้างความเชื่อมั่นให้เชื่อในความสามารถของตัวเอง
7. ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากกรมควบคุมโรค
8. อดทนและแสดงออกด้วยความสงบ
9. เปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้ระบายความรู้สึก
10. รับฟังทางเลือก และช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
11. ต้องมั่นใจว่าคำแนะนำเป็นวิธีที่มีความปลอดภัย ไม่อันตราย
ข้อห้ามควรระวังเมื่อต้องเยียวยาใจคนข้างๆ
1. กดดันให้พูด ทั้งๆ ที่ไม่อยากพูด
2. ถามว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้
3. ตัดสินคนอื่น
4. ใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก
5. พูดคุยเกี่ยวกับตัวเองหรือปัญหาของตัวเอง
6. ให้คำสัญญาหรือรับรองแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
7. นำเรื่องที่คุยไปบอกผู้อื่น
8. ใช้ประโยชน์จากความลับหรือเรื่องราวที่ได้ฟังจากผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
เพราะวิกฤตการณ์โควิดไม่ได้เป็นเพียงแค่การระบาดของโรคที่สร้างความเสียหายต่อชีวิต แต่ยังรวมถึงการสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจและดูแลตัวเองและทุกคนที่คุณรัก
สินมั่นคงของร่วมเป็นอีกหนึ่งแรงเสริมความมั่นใจการเข้ารับวัคซีนแพ้โควิด ด้วยประกันแพ้วัคซีนโควิด ฟรี !!! 1,000,000 สิทธิ์ อ่านรายละเอยดเพิ่มเติม และลงทะเบียนได้ที่ [url]https://www.smk.co.th/covid19_vacine.aspx[/url]
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments